<$BlogRSDUrl$>

วันอาทิตย์, เมษายน 04, 2547

สถานการณ์และการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย- Pectch

สถานการณ์และการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย:
ภาพสะท้อนของการคิดและวางแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข

สองปัญหาหลักที่สำคัญสำหรับการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย คือ การขาดแคลนการพัฒนาวัคซีนและยาใหม่ๆ และ การเพิ่มจำนวนผู้ที่ดื้อต่อยาเนื่องจากการขาดความต่อเนื่องในการใช้ยาบำบัด วิธีการใหม่ในการควบุคมวัณโรคได้แก่ DOTS (Directly Observed Therapy) เป็นวิธีที่มีคนช่วยเหลือผู้ป่วยคอยควบคมการใช้ยาเพื่อที่ให้เกิดการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ช่วยเหลืออาจเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคร ผู้นำชุมชน และสมาชิกในครอบครัว สถานการณ์จากการใช้ DOTS ในประเทศไทยขณะนี้มีการครอบคลุม 34.1% เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ WHO กำหนด และมีแนวโน้มจะลดลงด้วย อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการใช้ DOTS พบว่าดีขึ้นจากการศึกษาแบบ non-RCT
ปัญหาการใช้ DOTS ในประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาแรก การขาดความสนใจจากระดับนโยบาย โดยยังให้ความสำคัญน้อยกว่าการควบคุมโรคติดต่อชนิดอื่นๆ ปัญหาที่สอง คือ จำนวนเจ้าหน้าที่ในการควบคุมวัณโรคยังไม่ได้รับการอมรมหรือไม่มีความสนใจที่จะรับการอบรม ปัญหาที่สาม คือ ขาดแรงจูงใจสำหรับเจ้าหน้าที่สุขภาพที่จะผลักดันให้มีการใช้ DOTS ในพื้นที่ตนเอง ปัญหาที่สี่ คือ สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ช่วยเหลือยังไม่สามารถใช้ DOTS ได้มีคุณภาพ ปัญหาที่สี่ คือ ขาดการศึกษาแบบ cohort เพื่ออธิบายระดับความสำเร็จในการใช้ DOTS การศึกษานี้แนะนำให้มีการสร้างเครือข่ายเพื่อทำวิจัยในเรื่องนี้ และการวิจัยในระดับนโยบาย ส่วนเนื้อหาควรเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการใช้ รูปแบบการพัฒนา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จและความล้มเหลว และเกณฑ์สำหรับการให้ DOTS โดยสมาชิกในครอบครัว


Comments: แสดงความคิดเห็น

This page is powered by Blogger. Isn't yours?