(<$BlogItemCommentCount$>) comments <$BlogRSDUrl$>

วันพุธ, เมษายน 07, 2547

การสร้าง Web Site จัดการฐานข้อมูล MySQL & PostgreSQL บนลินุกซ์ทะเล

มี file ใน computer -Mighthy

วันอังคาร, เมษายน 06, 2547

Knowledges Management

Knowledges Management
ดังนั้นสิ่งแรกที่คณะแพทยศาสตร์ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ก็คือ ทำความกระจ่าง (clarification) ในเรื่อง KM ให้ทุกคนได้เข้าใจ KM ตรงกันเสียก่อน ซึ่งได้ใช้ 2 วิธีหลัก คือ
1. Outside-in คือ การเชิญผู้รู้ในเรื่องนี้มาเล่า มาบรรยายให้คนของคณะได้รับ ทราบ เช่น การเชิญ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มาบรรยายเรื่อง "การจัดการความรู้ในยุคเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ " (Knowledge Management in the Knowledge - Based Economy and Society) เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2546 และเชิญ รศ.ดร.อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง มาบรรยายเรื่อง Learning Organization และ Knowledge Management เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2546 เป็นต้น
2. Inside-out คือ การส่งบุคลากรของคณะไปจับเอาความรู้ (Knowledge capture) ในเรื่อง KM จากภายนอก เช่น ส่งบุคลากรไปฟังการบรรยายของ Mr. Dave Snowden ผู้เชี่ยวชาญการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของ IBM's Cynefin ประกาศสหราชอาณาจักร เมื่อครั้งมาบรรยายให้กับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2546 เพื่อนำกลับมาถ่ายทอดต่อ เป็นต้น



ใช้คณะกรรมการเป็นกลไกในการสนับสนุน
ในการประชุมคณะกรรมการบริหารและพัฒนาบุคลากร ครั้งที่ 3/2546 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2546 ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของการเริ่มนำ KM มาใช้อย่างเป็นระบบในคณะ โดยในการประชุมครั้งนั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและอภิปรายกันถึงเรื่อง KM เป็นครั้งแรก และในที่สุดที่ประชุมได้มีความเห็น ดังนี้
ให้ขยายจุดเน้น (focus) ของการพัฒนาบุคลากรจากเดิมที่คณะเคยถือว่า "คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดของคณะ" ให้ขยายเป็น "คนและความรู้ (knowledge) เป็น ทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดของคณะ" แทน โดยมองว่าคนอาจมีการเคลื่อนย้ายออกไปจากคณะได้ แต่ความรู้ที่ได้จากการทำงานในคณะควรอยู่กับคณะตลอดไป
ให้พัฒนาทรัพยากรบุคคลควบคู่หรือคู่ขนานกันไปกับการจัดการความรู้อย่าง เป็นระบบ โดยมีคำขวัญว่า "พัฒนาคน พัฒนางาน และจัดการความรู้ โดยชูคุณภาพเป็นหัวใจ และมุ่งไปที่ผู้รับบริการเป็นสำคัญ"
เห็นชอบที่รองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร จะไปร่วมมือกับรองคณบดีฝ่าย เวชสารสนเทศ ที่จะเปิด section เรื่อง Knowledge Management ขึ้นในโฮมเพจ (homepage) ของคณะแพทยศาสตร์ (http : medinfo.psu.ac.th/KM/KM/htm)



เริ่มสื่อสารผ่านเวบไซต์ ก่อนเปลี่ยนไปใช้พหุวิธี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน 2546 จึงได้มีการเปิด section "Knowledge Management, KM" ขึ้นในโฮมเพจของคณะแพทยศาสตร์ โดยในช่วงแรกได้จัดให้เข้าถึง section นี้ได้ 2 ทาง คือ ในกลุ่มหัวข้อประจำของโฮมเพจ ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือกับในหมวด What's new ทางด้านขวามือ พร้อมกับนับจำนวนครั้งที่ถูกคลิ๊กเข้ามาไว้ด้วย โดยใน section นี้ มีเนื้อหาอยู่ 3 ส่วน คือ สาระน่ารู้เรื่อง KM, Best Practice ของคณะแพทยศาสตร์, และแบ่งปันความรู้จากงาน ซึ่งเป็นเสมือน webbord เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรในคณะได้สื่อสารถึงกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing) ที่ได้จากการทำงาน
ความคิดที่เปิดให้มีการสื่อสารผ่านทางสื่ออิเลคโทรนิกส์นี้ เพราะพบว่า การจัดการความรู้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในองค์กรทางธุรกิจ จะให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการสื่อสารผ่านทางอินทราเนตในองค์กร จึงพบว่าหลายบริษัทในต่างประเทศ มีผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ที่เรียกว่า CKO (Chief Knowledge Officer) เป็นคน ๆ เดียวกับผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสารสนเทศของบริษัทที่เรียกว่า CIO (Chief Information Officer)
แต่เมื่อได้ติดตามดูปฏิกิริยาการตอบสนอง (response) ของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ไปประมาณ 2 สัปดาห์ ก็พบว่าบุคลากรของคณะได้เข้ามาติดต่อกันในส่วนนี้น้อยมาก ในระยะแรกผมไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะบางคนอาจไม่ทราบว่าในส่วนนี้ต้องคลิ๊กเข้าไปจึงจะเจอหัวข้อต่าง ๆ ที่บุคลากรในคณะได้เสนอความคิดเข้ามาหรือเปล่า จึงขอให้รองคณบดีฝ่ายเวชสารสนเทศ เพิ่มคำว่า chick ต่อท้ายจากชื่อหัวข้อ "แบ่งปันความรู้จากงาน" แต่ก็พบว่ามีคนในคณะที่เข้ามา สื่อสารตรงนี้เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น คือ หัวหน้าหน่วยของคณะแพทยศาสตร์หนึ่งคนที่เข้ามาเสนอประเด็นไว้ 3 เรื่อง และมีบุคลากรนอกคณะเข้ามาแจมอีก 2 คน ผมจึงเริ่มมองหาช่องทางของการสื่อสารภายในองค์กรเสียใหม่ ที่เรียกว่า พหุวิธี (multi-methods) แทนที่จะใช้วิธี by cyber หรือ log in ผ่านทางคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ก็เพิ่มช่องทางอื่น ๆ เข้ามาด้วย เช่น ผ่านทางกระดาษ (by paper) โดยนำข้อความที่อยู่ในโฮมเพจ ไปโรเนียวบนกระดาษขนาด A4 1 แผ่นพิมพ์หน้า-หลัง เรียกว่า สาร K-G ที่ย่อมาจากคำว่า (Knowledge sharing - Getting better practice) แจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผ่านทางการพูดคุยตัวต่อตัว (by speaker) โดยอาศัยกิจกรรมการบริหารด้วยการเดินเยี่ยมตามหน่วยงาน (Management by Walking Around, MBWA) ที่มีอยู่แล้ว โดยเพิ่มขอบเขตของการเดินเยี่ยมว่าจะไปดูเรื่องการถ่ายเทความรู้ (Transfer of knowledge) ของหน่วยงานนั้นด้วย นอกเหนือจาก 2 เรื่องที่ได้ไปดูอยู่เดิม คือ เรื่อง แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual development plan) กับเรื่องอาชีวอนามัย (Occupational health) ซึ่งเมื่อรวมตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวหน้าของทั้ง 3 เรื่องก็จะได้คำว่า TrIO พอดี



การจัดการความรู้ ในมุมมองของการข้ามวัฒนธรรม
หากมองเรื่อง KM ในมุมมองของการข้ามวัฒนธรรม(cross cultural consideration) โดยอาศัยประสบการณ์ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเห็นว่า การเริ่มต้นด้วยการคาดหวังจะให้บุคลากรของคณะสื่อสารผ่านทางคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเป็นสำคัญนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะได้มองข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างสังคมไทยกับสังคมต่างประเทศไป ซึ่งผมเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังที่ได้สรุปไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมไทยกับสังคมต่างประเทศ
สังคมไทย สังคมต่างประเทศ
เน้นการพูดคุยมากกว่าการอ่าน สื่อสารหลายทาง และให้ความสำคัญกับการอ่านด้วย
เน้นการพึ่งพา (dependent) เมื่อเจอปัญหาที่ไม่รู้ มักหา เน้นความเป็นตัวของตนเอง (independent) เมื่อเจอปัญหา จะค้นคว้าหา คำตอบ ด้วยตนเองจากอินเตอร์เนต หรือหนังสือคู่มือ
คนที่จะสอบถามได้มากกว่า ค้นคว้าเอง

แม้จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานมาก ขึ้น มีการสื่อสาร (chat) ผ่านทางคอมพิวเตอร์ในหน่วยงาน
จนเป็นปกตินิสัย แม้บางครั้งจะนั่งอยู่ในห้องทำงานห้องเดียวกันก็ยังสื่อสารผ่านช่องทางนี้
แต่การสื่อสารภายในหน่วยงาน มักใช้ วิธีโทรศัพท์
คุยกันหรือคุยแบบตัวต่อตัว มากกว่า


นอกจากความแตกต่างของสังคมแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นความแตกต่างของลักษณะงานในองค์กรด้วย เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่ของคณะเป็นคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย และส่วนมากต้องมาทำงานเป็นกะ กะละแปดชั่วโมง แต่ส่วนมากแล้วมักจะทำงานนานกว่านั้น เมื่อขึ้นมาทำงานแล้วก็จะยุ่งอยู่กับการดูแลผู้ป่วย จนแทบไม่มีเวลาเหลือที่จะไปเปิดดูโฮมเพจของคณะอีก จึงไม่แปลกใจว่า หลังจากเปิด section KM ในโฮมเพจของคณะไปเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว เมื่อคณะกรรมการบริหารและพัฒนาบุคลากรไปเดินเยี่ยมตามหน่วยงาน (MBWA) พยาบาลตามหอผู้ป่วยหลายคนก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้



เพิ่มการไหลเวียนของความรู้ ก้าวสู่การจัดการให้เป็นระบบ
ในการประชุมของคณะกรรมการบริหารและพัฒนาบุคลากร ครั้งที่ 6/2546 เมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม 2546 ที่ประชุมได้พิจารณาถึงเรื่อง Roadmap to Learning Organization via Knowledge Management หรือ "แผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อนำคณะแพทยศาสตร์ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยอาศัยการจัดการความรู้เป็นกระบวนการ" โดยที่ประชุมเห็นว่า การจัดการความรู้หรือ KM เป็นเครื่องมือหนึ่งหรือกระบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการที่จะนำคณะแพทยศาสตร์ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และควรบูรณาการ (integrate) KM เข้าไปในกิจกรรมคุณภาพทุกกิจกรรมที่บุคลากรของคณะได้ดำเนินการอยู่แล้ว
ในแง่ของการเพิ่มให้มีการไหลเวียนของความรู้ (knowledge flow) ภายในองค์กรให้เร็วขึ้นนั้น ผมได้หารือกับคณบดีแล้วเห็นว่า น่าจะจัดให้มีการนำเสนอกิจกรรมคุณภาพอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน แทนที่จะต้องรอไปเป็นปีถึงจะได้มาฟังในการประชุมวิชาการด้านคุณภาพและงานเสนอผลงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ประจำปี โดยเรียกว่า "วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง" หรือ "Knowledge Sharing Day" และเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องการจัดการความรู้ในคณะให้เป็นระบบ คณบดีจึงได้ออกคำสั่งของคณะแพทยศาสตร์ ที่ 243/2547 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2546 โดยให้คณะกรรมการบริหารและพัฒนาบุคลากรทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการจัดการความรู้ด้วย และเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการเสียใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพิ่มขึ้น เป็น "คณะกรรมการบริหารพัฒนาบุคลากรและจัดการความรู้" และเพิ่มรองคณบดีฝ่ายเวชสารสนเทศ เข้ามาเป็นรองประธานของคณะกรรมการชุดนี้อีกหนึ่งท่านด้วย



บทส่งท้าย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ได้เปิดรับเครื่องมือใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการ แล้วนำมาปรับใช้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Continuous Quality Improvement, Key Performance Indicator, หรือ Balanced Scorecard เป็นต้น KM ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่คณะแพทยศาสตร์ได้รับมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร และในบริบทของสังคมกับ วัฒนธรรมไทย โดยเรียนรู้ ลองทำ และปรับใช้อย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ที่ผ่านมาของการ จัดการความรู้ในคณะแพทยศาสตร์ คงเป็นประโยชน์ให้กับหน่วยงานอื่นในภาครัฐ และภาคประชาสังคมที่สนใจจะนำ KM ไปใช้ในองค์กรบ้างไม่มากก็น้อย



--------------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. พรธิดา วิเชียรปัญญา. ประสบการณ์การเรียนรู้องค์กรคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. บรรยายในการประชุมของสถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ประจำเดือนมิถุนายน 2546
2. พิเชฐ อุดมรัตน์. ทิศทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทศวรรษหน้าด้านการพัฒนาบุคลากร. บทความในหนังสือครบรอบ 30 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2545.
3. Gamble PR, Blackwell J. Knowledge management : A state of the art guide. London : Kogan Page, 2001 : 96-99.


วันจันทร์, เมษายน 05, 2547

WHO TB factsheet

Fact Sheet N?104
Revised March 2004


Tuberculosis

Infection and transmission

Tuberculosis (TB) is a contagious disease. Like the common cold, it spreads through the air. Only people who are sick with TB in their lungs are infectious. When infectious people cough, sneeze, talk or spit, they propel TB germs, known as bacilli, into the air. A person needs only to inhale a small number of these to be infected.

Left untreated, each person with active TB disease will infect on average between 10 and 15 people every year. But people infected with TB bacilli will not necessarily become sick with the disease. The immune system "walls off" the TB bacilli which, protected by a thick waxy coat, can lie dormant for years. When someone's immune system is weakened, the chances of becoming sick are greater.


Someone in the world is newly infected with TB bacilli every second.
Overall, one-third of the world's population is currently infected with the TB bacillus.
5-10% of people who are infected with TB bacilli (but who are not infected with HIV) become sick or infectious at some time during their life.

Global and regional incidence

The table below shows the estimated TB incidence (the number of new cases arising each year) and mortality in each of the WHO regions. The incidence of all forms of TB, the incidence of infectious (smear-positive) cases, and mortality are shown both as the total number of cases and as the rate per 100 000 population.

The largest number of cases occurs in the South-East Asia Region, which accounts for 33% of incident cases globally. However, the estimated incidence per capita in sub-saharan Africa is nearly twice that of the South-East Asia, at 350 cases per 100 000 population.

HIV and TB

HIV and TB form a lethal combination, each speeding the other's progress. HIV weakens the immune system. Someone who is HIV-positive and infected with TB is many times more likely to become sick with TB than someone infected with TB who is HIV-negative. TB is a leading cause of death among people who are HIV-positive. It accounts for about 13% of AIDS deaths worldwide. In Africa, HIV is the single most important factor determining the increased incidence of TB in the past 10 years.

WHO and its international partners have formed the TB/HIV Working Group, which develops global policy on the control of HIV-related TB and advises on how those fighting against TB and HIV can work together to tackle this lethal combination.

Drug-resistant TB

Until 50 years ago, there were no medicines to cure TB. Now, strains that are resistant to a single drug have been documented in every country surveyed; what is more, strains of TB resistant to all major anti-TB drugs have emerged. Drug-resistant TB is caused by inconsistent or partial treatment, when patients do not take all their medicines regularly for the required period because they start to feel better, because doctors and health workers prescribe the wrong treatment regimens, or because the drug supply is unreliable. A particularly dangerous form of drug-resistant TB is multidrug-resistant TB (MDR-TB), which is defined as the disease caused by TB bacilli resistant to at least isoniazid and rifampicin, the two most powerful anti-TB drugs. Rates of MDR-TB are high in some countries, especially in the former Soviet Union, and threaten TB control efforts.

From a public health perspective, poorly supervised or incomplete treatment of TB is worse than no treatment at all. When people fail to complete standard treatment regimens, or are given the wrong treatment regimen, they may remain infectious. The bacilli in their lungs may develop resistance to anti-TB medicines. People they infect will have the same drug-resistant strain. While drug-resistant TB is generally treatable, it requires extensive chemotherapy (up to two years of treatment) that is often prohibitively expensive (often more than 100 times more expensive than treatment of drug-susceptible TB), and is also more toxic to patients.

WHO and its international partners have formed the DOTS-Plus Working Group, which develops global policy on the management of MDR-TB, and facilitates access to second-line anti-TB drugs for approved projects.

TB in refugees and migrants

According to UNHCR, there were an estimated 20 million refugees and displaced and needy people in 2003. Many refugees originate from countries with high TB incidence rates. Poor nutrition and health mean that refugees are at particularly high risk of developing TB. Untreated TB spreads quickly in crowded refugee camps and shelters. It is difficult to treat mobile populations, as treatment takes at least six months and should ideally be supervised.

In many western European countries, and in the USA, over 50% of TB cases notified in 2001 were among people who were not born in the country and/or were not citizens of the country.

Effective TB control - DOTS

The internationally recommended approach to TB control is DOTS, an inexpensive strategy that could prevent millions of TB cases and deaths over the coming decade. The DOTS strategy for TB control consists of five key elements:


government commitment to sustained TB control;
detection of TB cases through sputum smear microscopy among people with symptoms;
regular and uninterrupted supply of high-quality anti-TB drugs;
6?8 months of regularly supervised treatment (including direct observation of drug-taking for at least the first two months);
reporting systems to monitor treatment progress and programme performance;

Once patients with infectious TB (bacilli visible in a sputum smear) have been identified using microscopy services, health and community workers or trained volunteers observe patients swallowing the full course of the correct dosage of anti-TB medicines. The most common anti-TB medicines are isoniazid, rifampicin, pyrazinamide, streptomycin and ethambutol.

Sputum smear testing is repeated after two months, to check progress, and again at the end of treatment. The recording and reporting system ensures that the patient's progress can be followed throughout treatment. It also allows assessment of the proportion of patients who are successfully treated, giving an indication of the quality of the programme.


The DOTS strategy produces cure rates of up to 95% even in the poorest countries.
The DOTS strategy prevents new infections by curing infectious patients.
The DOTS strategy prevents the development of drug resistance by ensuring that the full course of treatment is followed.
A six-month supply of drugs for treatment under the DOTS strategy costs as little as US$ 10 per patient in some parts of the world.
The World Bank has ranked the DOTS strategy as one of the "most cost-effective of all health interventions".

Implementation of DOTS worldwide

Since its introduction in 1991, more than 13 million patients have received treatment under the DOTS strategy.

By the end of 2002, all 22 of the countries with the highest number of TB cases, which together have 80% of the world's estimated incident cases, had adopted the DOTS strategy. In total, 180 countries were implementing the DOTS strategy, and 69% of the global population was living in parts of countries where the DOTS strategy was in place. In India alone, 740 million people (almost 70% of the total population) were living in parts of the country where the strategy had been implemented by August 2003.

In 2001, the Global DOTS Expansion Plan was published. The two pillars of the plan are the development of medium-term (at least 5-year) plans for TB control in all countries, and the establishment of national interagency coordination committees (NICCs). All 22 countries with the highest number of cases had formulated plans by the end of 2003, and all but two had NICCs that met regularly.

Global targets

WHO targets, ratified by the World Health Assembly in 1991, are to detect 70% of new infectious TB cases and to cure 85% of those detected by 2005. Eighteen countries had already achieved these targets in 2002. Globally, 37% of the estimated number of TB patients received treatment under the DOTS strategy in 2002, two and a half times the fraction reported in 1995. The average success rate for treatment under the DOTS strategy was 82%.

Halving TB prevalence and death rates by 2015 are included among the United Nations Millennium Development Goals. These indicators have been estimated for all countries, but to date there are few countries where the impact of TB control has been studied in detail. Among these are Peru, where widespread implementation of the DOTS strategy for more than a decade, with a treatment success rate of 90%, has led to a decline in incidence and the prevention of an estimated 70% of deaths among infectious cases over the period 1991 to 2000. In half of China, where the DOTS strategy has been implemented progressively since 1991, prevalence fell 30% more than in the rest of the country.

The 2004 WHO report Global TB Control concluded that, in order to improve progress towards global targets, governments and national TB control programmes must take a more strategic approach to planning, match budget more closely with plans, and match fundraising activities to realistic budgets.


It is estimated that two million deaths resulted from TB in 2002. As with cases of disease, the highest number of estimated deaths is in the South-East Asia Region, but the highest mortality per capita is in the Africa Region, where HIV has led to rapid increases in the incidence of TB and increases the likelihood of dying from TB.


วันอาทิตย์, เมษายน 04, 2547

สถานการณ์และการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย- Pectch

สถานการณ์และการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย:
ภาพสะท้อนของการคิดและวางแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข

สองปัญหาหลักที่สำคัญสำหรับการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย คือ การขาดแคลนการพัฒนาวัคซีนและยาใหม่ๆ และ การเพิ่มจำนวนผู้ที่ดื้อต่อยาเนื่องจากการขาดความต่อเนื่องในการใช้ยาบำบัด วิธีการใหม่ในการควบุคมวัณโรคได้แก่ DOTS (Directly Observed Therapy) เป็นวิธีที่มีคนช่วยเหลือผู้ป่วยคอยควบคมการใช้ยาเพื่อที่ให้เกิดการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ช่วยเหลืออาจเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคร ผู้นำชุมชน และสมาชิกในครอบครัว สถานการณ์จากการใช้ DOTS ในประเทศไทยขณะนี้มีการครอบคลุม 34.1% เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ WHO กำหนด และมีแนวโน้มจะลดลงด้วย อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการใช้ DOTS พบว่าดีขึ้นจากการศึกษาแบบ non-RCT
ปัญหาการใช้ DOTS ในประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาแรก การขาดความสนใจจากระดับนโยบาย โดยยังให้ความสำคัญน้อยกว่าการควบคุมโรคติดต่อชนิดอื่นๆ ปัญหาที่สอง คือ จำนวนเจ้าหน้าที่ในการควบคุมวัณโรคยังไม่ได้รับการอมรมหรือไม่มีความสนใจที่จะรับการอบรม ปัญหาที่สาม คือ ขาดแรงจูงใจสำหรับเจ้าหน้าที่สุขภาพที่จะผลักดันให้มีการใช้ DOTS ในพื้นที่ตนเอง ปัญหาที่สี่ คือ สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ช่วยเหลือยังไม่สามารถใช้ DOTS ได้มีคุณภาพ ปัญหาที่สี่ คือ ขาดการศึกษาแบบ cohort เพื่ออธิบายระดับความสำเร็จในการใช้ DOTS การศึกษานี้แนะนำให้มีการสร้างเครือข่ายเพื่อทำวิจัยในเรื่องนี้ และการวิจัยในระดับนโยบาย ส่วนเนื้อหาควรเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการใช้ รูปแบบการพัฒนา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จและความล้มเหลว และเกณฑ์สำหรับการให้ DOTS โดยสมาชิกในครอบครัว


This page is powered by Blogger. Isn't yours?